คอมแอร์รถยนต์ หรือคอมเพรสเซอร์ (Compressor) คอมแอร์รถยนต์จะดูดสารทำความเย็นซึ่งมีสถานะเป็นไอหรือก๊าซ คอมแอร์รถยนต์จะทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นออกไปที่คอนเดนเซอร์ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันเพิ่มสูงขึ้น
เมื่อมีแรงดันที่เพียงพอ คอมแอร์รถยนต์จะถูกตัดการทำงานโดยเทอร์โมสตัท หรือเทอร์มิสเตอร์ จะเป็นตัวชี้วัดว่าเวลาไหน คอมแอร์รถยนต์ต้องทำงาน และเมื่ออุณหภูมิในห้องโดยสารต่ำลงจนได้อุณหภูมิที่อยู่ในระดับพอดี เทอร์โมสตัท หรือเทอร์มิสเตอร์ จะสั่งให้คอมแอร์รถยนต์หยุดการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงดันที่สูงจนเกินไป โดนอาจจะเป็นอันตราย และอาจเกิดการระเบิดของท่อต่างๆ ของระบบน้ำยาได้
จากนั้นเสารทำความเย็นจะไหลผ่านแผงคอนเดนเซอร์ หรือแผงรังผึ้ง ที่อยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของรถ โดยจะทำหน้าที่ให้อุณหภูมิของสารทำความเย็นลดต่ำลง ซึ่งสารทำความเย็นจะควบแน่นกลายเป็นของเหลว และไหลต่อไปยังรีซีฟเวอร์ หรือไดร์เออร์ เพื่อกรองสิ่งสกปรก และความชื้นที่ปนเปื้อนมาในสารทำความเย็น เมื่อมีการเปิดระบบของท่อทางน้ำยาแอร์ เพื่อป้องกันการอุดตันของท่อทางน้ำยาแอร์ที่จะต้องไหลไปที่เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว หรือวาล์วแอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่ฉีดสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ให้เป็นฝอยละอองเข้าไปในอีวาโปเรเตอร์ หรือตู้แอร์ โดยทำให้สารทำความเย็นมีความดันต่ำลง และเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนภายในห้องโดยสาร ให้มีอุณหภูมิที่ต่ำลง จากนั้นเมื่อน้ำยาแอร์มีสถานะกลายเป็นก๊าซก็จะถูกดูดเข้าไปในคอมแอร์รถยนต์ เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่อีกครั้ง
สาเหตุที่แอร์ไม่เย็น และสาเหตุอาการของคอมแอร์รถยนต์เสีย ส่วนใหญ่นั้นเกิดจากผ่านการใข้งานรถยนต์มาเป็นระยะเวลานาน คอมแอร์รถยนต์ และอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการสึกหรอเสียหาย และเสื่อมตามสภาพ หากมีเสียงดังผิดปกติและความเย็นลดลง ควรนำรถเข้าศูนย์บริการใกล้บ้าน ให้ช่างผู้มีประสบการณ์ตรวจสอบครับ
รับซื้อรถให้ราคาสูง บริการด้วยความจริงใจ
ป้ายกำกับ:คอมเพรสเซอร์, คอมแอร์รถยนต์, สาเหตุที่แอร์ไม่เย็น
If you enjoyed this article please consider sharing it!